We use cookies to understand how you use our site and to improve your experience. This includes personalizing content and advertising. By continuing to use our site, you accept our use of Cookies, Privacy Policy Term of use.
Video Player is loading.
Current Time 0:00
Duration 0:00
Loaded: 0%
Stream Type LIVE
Remaining Time 0:00
 
1x
113 views • November 19, 2021

ซีรีส์พิเศษ Ep.8 การแทรกซึมตะวันตก ตอน 2 | ปีศาจคอมมิวนิสต์ครอบงำโลกของเราได้อย่างไร

NTD Thai
NTD Thai
สารบัญ 3. จากนโยบายนิวดีลสู่พิพัฒนาการนิยม 4. การปฏิวัติทางวัฒนธรรมของตะวันตก 5. ขบวนการต่อต้านสงครามและสิทธิพลเมือง 3. จากนโยบายนิวดีลสู่พิพัฒนาการนิยม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2472 เกิดเหตุตลาดหุ้นนิวยอร์กล้ม วิกฤตการณ์แพร่ขยายจากภาคการเงินไปยังเศรษฐกิจทั้งหมด ไม่เว้นแม้แต่ประเทศพัฒนาแล้วที่สำคัญ ๆ ในฝั่งตะวันตก การว่างงานพุ่งสูงเกินกว่าหนึ่งในสี่ของประชากรและจำนวนรวมของผู้ไม่มีงานทำมีเกินกว่า 30 ล้านคน นอกจากสหภาพโซเวียตแล้วพบว่าผลผลิตด้านอุตสาหกรรมในประเทศอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ลดต่ำลงโดยเฉลี่ย 27 เปอร์เซ็นต์ ช่วงต้นปี พ.ศ. 2476 ภายใน 100 วันหลังการสาบานตนของโรสเวลต์ร่างกฎหมายหลายฉบับได้เขียนขึ้นโดยมีใจความสำคัญอยู่ที่การแก้ไขวิกฤตที่เกิดขึ้น นโยบายต่าง ๆ เพิ่มการแทรกแซงของรัฐบาลในด้านเศรษฐกิจและอนุมัติการปฏิรูปครั้งใหญ่ ได้แก่ การที่สภาคองเกรสตรารัฐบัญญัติฉุกเฉินด้านการธนาคาร รัฐบัญญัติปรับปรุงภาคการเกษตร รัฐบัญญัติการฟื้นฟูอุตสาหกรรมแห่งชาติ และรัฐบัญญัติประกันสังคม แม้ว่านโยบายนิวดีลของโรสเวลต์สิ้นสุดลงก่อนหน้าการปะทุของสงครามโลกครั้งที่ 2 ทว่าสถาบันและองค์กรจำนวนมากที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นยังคงสร้างรูปแบบของสังคมอเมริกันมาจนถึงทุกวันนี้ โรสเวลต์ ออกคำสั่งพิเศษ หรือ Executive Order เป็นจำนวนที่มากกว่าคำสั่งของอดีตประธานาธิบดีทุกคนในช่วงศตวรรษที่ 20 รวมกันเสียอีก แม้กระนั้นอัตราการว่างงานของคนอเมริกันในสหรัฐฯ ไม่ได้ลดลงต่ำกว่าตัวเลขสองหลักจนกระทั่งมีสงคราม ผลที่เกิดขึ้นจริงของนโยบายนิวดีลคือการตั้งต้นรัฐบาลสหรัฐฯ ให้เดินอยู่บนเส้นทางที่มีการเก็บภาษีอัตราสูง มีคณะรัฐบาลขนาดใหญ่และมีการแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ พ.ศ. 2560 หนังสือ The Big Lie: เปิดเผยรากเหง้านาซีของอเมริกันฝ่ายซ้าย หรือ Exposing the Nazi Roots of the American Left ของ ดิเนช ดิโซซา นักคิดเชิงอนุรักษ์นิยมได้เขียนแย้งไว้ว่า รัฐบัญญัติฟื้นฟูประเทศซึ่งเป็นหัวใจของนโยบายนิวดีลของโรสเวลต์ ที่แท้แล้วเป็นเส้นทางสู่จุดจบของตลาดเสรีสหรัฐฯ จากหนังสือ FDR's Folly (ความเขลาของแฟรงคลิน ดี โรสเวลต์) ที่เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 โดย จิม เพาเวลล์ นักประวัติศาสตร์ ระบุว่า นโยบายนิวดีลทำให้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ยืดเยื้อออกไปมากกว่าจะยุติมัน เช่น รัฐบัญญัติประกันสังคมและกฎหมายแรงงานกระตุ้นให้ยิ่งมีการว่างงานมากขึ้นในขณะที่ภาษีอัตราสูงก็ขัดขวางการเติบโตของธุรกิจ เป็นต้น มิลตัน ฟรีดแมน นักเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลยกย่องงานของ เพาเวลล์ โดยกล่าวว่า "ตามที่ เพาเวลล์ นำมาแสดงให้เห็นโดยปราศจากข้อกังขา นิวดีลเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่หดตัว เพิ่มจำนวนการว่างงานและทำให้มันยืดเยื้อออกไป และสร้างการเป็นรัฐบาลที่ก้าวก่ายและฟุ่มเฟือยตราบชั่วนิรันดร์" ------------------ กดติดตามช่องของเราได้ที่ 🔔https://bit.ly/NTDTHAI​ ติดตามเราบนเฟซบุ๊กได้ที่ https://www.facebook.com/NTDThailand
Show All
Comment 0